การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ในสถานศึกษาด้านการบริหาร
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ในสถานศึกษาด้านการบริหาร เป็นการพัฒนาระบบสารสนเทศที่สนับสนุนผู้บริหารในงานระดับวางแผนนโยบายและกลยุทธ์ขององค์การโดยที่ EIS จะถูกนำมาให้คำแนะนำผู้บริหารในการตัดสินใจและเป็นการตอบสนองความต้องการที่พิเศษของผู้บริหารในด้านต่าง ๆ สถานการณ์ หรือเหตุการณ์ปกติเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารการศึกษา (MIS)
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ในมาตรา 63-69 ได้กำหนดบทบาทหน้าที่ของรัฐ เกี่ยวกับการจัดการด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา โดยกำหนดขอบเขตครอบคลุมไปถึงการจัดการโครงสร้างพื้นฐาน การพัฒนาบุคลากร การวิจัย การจัดตั้งกองทุนและหน่วยงานกลางเพื่อวางนโยบายและบริหารงานเกี่ยวกับเทคโนโลยีการศึกษา
ยุทธศาสตร์การพัฒนา
1. ยุทธศาสตร์ที่ 1 การใช้ ICT เพื่อพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน ส่งเสริมให้ผู้เรียนใช้ประโยชน์จาก ICT เพื่อการเรียนรู้จากแหล่งและวิธีการที่หลากหลาย มีการพัฒนาสื่ออิเล็กทรอนิกส์ พัฒนาผู้สอนและพัฒนาหลักสูตรในการประยุกต์ใช้ ICT เพื่อการจัดการเรียนการสอน2. ยุทธศาสตร์ที่ 2 การใช้ ICT พัฒนาการบริหารจัดการและให้บริการทางการศึกษาเป็นการส่งเสริมการใช้ ICT เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ และให้บริการทางการศึกษา ด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์
3. ยุทธศาสตร์ที่ 3 การผลิตและพัฒนาบุคลากรด้าน ICT เป็นการรองรับความต้องการกำลังคนด้าน ICT เพื่อการพัฒนาการศึกษาและอุตสาหกรรม
4. ยุทธศาสตร์ที่ 4 การกระจายโครงสร้างพื้นฐาน ICT เพื่อการศึกษา มุ่งเน้นการจัดหาและใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์ และซอฟต์แวร์ โดยร่วมมือกับภาครัฐ เอกชน ชุมชน และท้องถิ่น เตรียมบุคลากรปฏิบัติงานด้าน ICT ให้เพียงพอ เพื่อให้มี ประสิทธิภาพในการใช้ปฏิบัติงาน
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ในสถานศึกษาด้านการบริหาร จะบรรลุได้ต้องประกอบด้วย
- ข้อมูลนำเข้า (Input)
- กระบวนการประมวลผล (Process)
- ผลลัพธ์ (Input)
- การควบคุมการย้อนกลับ (Feedback Control)
2. การบริหารทางไกล (High-Tech Administration)
3. การหาความรู้ทำงานกับระบบคอมพิวเตอร์ (Computer Literacy)
4. การมองการณ์ไกล (Introspection)
5. การใช้หน่วยงาน/องค์กรอื่นทำงาน (Decentralization)
6. การจัดรูปองค์กรที่ทำงานได้ฉับไว (Organization Development)
7. การพัฒนาบุคลากร (Personnel Development
ประโยชน์ของระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร
1. ช่วยให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงสารสนเทศที่ต้องการได้อย่างรวดเร็ว ทันต่อเหตุการณ์
2. ช่วยผู้ใช้ในการกำหนดเป้าหมายกลยุทธ์และการวางแผนปฏิบัติการ
3. ช่วยผู้ใช้ในการตรวจสอบประเมินผลการดำเนินงาน
4. ช่วยให้ผู้ใช้สามารถวิเคราะห์ปัญหาหรืออุปสรรคที่เกิดขึ้น เพื่อหาวิธีควบคุม ปรับปรุงและแก้ไขปัญหา
5. ช่วยผู้ใช้ในการศึกษาและวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา
6. ช่วยลดค่าใช้จ่าย
สรุป การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ในสถานศึกษาด้านการบริหาร เป็นการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ในสถานศึกษาด้านการบริหาร เพื่อเป็นการพัฒนาระบบสารสนเทศให้ครบวงจรการบริหารงานทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านการบริหารงานด้านวิชาการ ด้านการบริหารงานด้านกิจการนักเรียน ด้านการบริหารงานธุรการ และด้านการบริหารงานบริการ เพื่อเป็นฐานข้อมูล ในการบริการแก่สมาชิกในองค์กร และประชาชนทั่วไป ทั้งยังเป็นการสนับสนุนผู้บริหารในงานระดับวางแผนนโยบายและกลยุทธ์ขององค์การโดยที่ EIS จะถูกนำมาให้คำแนะนำผู้บริหารในการตัดสินใจเมื่อประสบปัญหาแบบไม่มีโครงสร้างหรือกึ่งโครงสร้าง โดย EIS เป็นระบบที่พัฒนาขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการที่พิเศษของผู้บริหารในด้านต่าง ๆ สถานการณ์หรือ เหตุปกติ ตัวอย่างรายงานที่ออกโดยระบบ MIS เช่น การวิเคราะห์การขายแยกตามพื้นที่ การวิเคราะห์ต้นทุน งบประมาณประจำปี การวิเคราะห์การลงทุน และตารางการผลิต
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ในสถานศึกษาจะทำให้การบริหารด้านต่างๆ คือช่วยให้ทำงานสะดวก รวดเร็ว ง่ายขึ้น ลดความผิดพลาดสำหรับงานที่ซับซ้อนยุ่งยากได้ ตัวอย่างประโยชน์ICT เช่น การเก็บข้อมูลโต๊ะ เก้าอี้ อุปกรณ์ต่างๆ การเก็บข้อมูลของครู อาจารย์ ระดับขั้น เงินเดือน และถ้ามีงบประมาณมากๆ ก็สามารถติดต่อข้อมูลทางเครือข่ายได้ทำให้มีความสะดวกยิ่งขึ้นให้การรับรู้ข้อมูลข่าวสารระหว่างครู อาจารย์ และสามารถเก็บข้อมูลของนักเรียนได้อีกด้วยสำหรับ ข้อเสียคือการใช้ICTไม่ถูกทางไม่ว่าจะเป็นนักเรียน ครู อาจารย์หรือผู้บริหารก็ตาม การปกปิดข้อมูล หรือปรับเปลี่ยนข้อมูลไม่ว่าจะในทางผลประโยชน์หรือในทางใดก็ตาม ก็เป็นผลเสียในการใช้ ICT ในการศึกษาทั้งสิ้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น