วันศุกร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2555

                    หนังสือนี้มีมากมายหลายชนิด       นำดวงจิตเริงรื่นชื่นสดใส
                    ให้ความรู้สำเริงบันเทิงใจ              ฉันจึงใฝ่ใจสมานอ่านทุกวัน
                           มีวิชาหลายอย่างต่างจำพวก               ล้วนสะดวกค้นได้ให้สุขสันต์
                           วิชาการสรรมาสารพัน                          ชั่วชีวันฉันอ่านได้ไม่เบื่อเลย
                                                                           บทพระราชนิพนธ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พ.ศ.๒๕๑๐



           
 รักการอ่าน สานชีวิตให้ถึงฝัน



“การอ่านทำคนให้เป็นคนโดยสมบูรณ์”


คำกล่าวของ เซอร์ ฟรานซิส เบคอน นักปรัชญาเมธีชาวอังกฤษ แสดงให้เห็นว่า การอ่านเป็นสิ่งสำคัญสำหรับมนุษย์ มนุษย์จะไม่สามารถเป็นมนุษย์ได้อย่าง สมบูรณ์แบบหากปราศจากการอ่าน ซึ่งเป็นหนึ่งในสี่ของทักษะทางภาษาที่จำเป็นต้องฝึกฝนอยู่สม่ำเสมอ และสามารถฝึกฝนได้เรื่อยๆ ตามวัย และประสบการณ์ไม่มีวันสิ้นสุด เป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้มนุษย์ได้รับความคิด ความรู้และความบันเทิงมีผลต่อชีวิตและจิตใจของมนุษย์ให้เจริญยิ่งขึ้น


ความหมายของการอ่าน

การอ่าน คือ การรับรู้ข้อความในการเขียนของตนเองหรือของผู้อื่น รวมถึงการรับรู้ความหมาย
จากเครื่องหมายและสัญลักษณ์ต่างๆ เช่น เครื่องหมายที่แสดงบนแผนที่ สัญลักษณ์จราจร เป็นต้น

ความสำคัญของการอ่าน

            ชีวิตของแต่ละคนย่อมต้องเกี่ยวข้องผูกพันกับสังคม คือ กลุ่มคนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ไม่มีใครที่จะอยู่ได้โดยปราศจากสังคมและการอยู่ร่วมกับคนอื่น ซึ่งจะต้องมีความเข้าใจซึ่งกันและกันมีการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิด ความสนใจ เพื่อให้สังคม เกิดความสงบสุขและพัฒนาไปข้างหน้าอย่างแท้จริง ดังนั้นการติดต่อสื่อสารจึงเข้ามาเป็นส่วนสำคัญในการเชื่อมโยงมนุษย์ทุกคนเข้าด้วยกัน สามารถทำทั้งการพบปะสื่อสารกันด้วยการสนทนาและอ่านข้อเขียนของกันและกัน สำหรับสังคมปัจจุบันซึ่งเป็นสังคมใหญ่ที่เจริญเติบโตและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การติดต่อกันโดยวิธีพบปะสนทนาย่อมเป็นไปได้ในวงจำกัด ดังนั้นการสื่อสารกันโดยการอ่านจึงมีความสำคัญมาก นอกจากนั้นผู้อ่านจำนวนมากยังต้องการอ่านเพื่อแสวงหาความรู้และความบันเทิงจากหนังสืออีกด้วย

ที่มา http://www.thaigoodview.com/library/contest2552/type2/thai04/07/reading.html#meaning



5 วิธีสร้างนิสัยรักการอ่านให้แก่เด็ก


1. สร้างบรรยากาศให้อยากอ่านหนังสือ    
          บรรยากาศที่เงียบสงบ ร่มรื่น เย็นสบาย ไม่ร้อน อากาศถ่ายเทได้ดี จะช่วยสร้างบรรยากาศ
ให้อยากอ่านหนังสือ และเป็นการเรียกสมาธิจากการอ่านได้อย่างดี
2. อ่านหนังสือให้เด็กฟัง
          การอ่านหนังสือให้เด็กฟังก่อนนอน และมีการพูดคุยกันเกี่ยวกับเนื้อหาในหนังสือ จะช่วยกระตุ้นความอยากรู้ของเด็กต่อเนื้อหาในหนังสือมากยิ่งขึ้น คนที่ชอบอ่านหนังสือ ในห้องนอน สะท้อนถึงการชอบนอนอ่านและความเป็นส่วนตัว สำหรับผู้ที่มีบุตรหลาน ใช้โอกาสก่อนเข้านอนเล่านิทานให้บุตรหลานฟัง หรือใช้เวลาสำหรับการอ่านหนังสือร่วมกัน โดยนิทานที่อ่านให้บุตรหลานฟัง มีทั้งนิทานพื้นบ้าน นิทานอีสป หากเป็นหนังสือสำหรับเด็ก จะมีเนื้อหาที่ช่วยส่งเสริมพฤติกรรมที่พึงประสงค์ เกี่ยวกับสุขลักษณะนิสัย และพฤติกรรมของเด็ก เช่น หมีน้อยไม่ยอมสระผม หนูนิดไม่ชอบทานผัก
ช้างขี้โมโห หนูนิดไม่อยากไปโรงเรียน ร่างกายของฉัน และส่วนใหญ่นิทานที่ผู้ปกครองเลือกมาเล่าหรืออ่านให้ฟัง จะเป็นนิทานสำหรับเด็ก เสริมสร้างจินตนาการ สร้างเสริมลักษณะนิสัย ความสัมพันธ์ในครอบครัว และสอดเทรกเนื้อหาสอนใจให้กับเด็กๆ ด้วย เช่น กระต่ายกับเต่า เด็กเลี้ยงแกะ ลูกหมูสามตัวสโนวไวท์ และในจำนวนนิทานที่เล่าให้เด็กฟังพบว่ามีนิทานเรื่อง
พระเวสสันดร สุวรรณสาม รามเกียรติ์ ที่เป็นวรรณคดีไทยรวมอยู่ด้วย

3. ส่งเสริมให้เด็กพกหนังสือติดกระเป๋าตลอดเวลา เพื่อให้เด็กหยิบมาอ่านได้ทันทีเมื่อมี เวลาว่าง
          สำหรับเด็กเพิ่งเริ่มอ่านให้เริ่มต้นจากหนังสือภาพที่เนื้อหาสั้น เข้าใจง่าย มีภาพสวยงาม และเด็กเป็นผู้เลือกด้วยตัวเอง โดยผู้ปกครองอ่านให้ฟัง สลับกับให้เด็กอ่านให้ผู้ปกครองฟังจนกระทั่งเด็กสามารถอ่านได้ด้วยตนเอง

4. เล่านิทานประกอบกิจกรรม

        ผู้ปกครองควรอ่านออกเสียงและให้เด็กอ่านตาม พร้อมทำกิจกรรมในหนังสือ เช่น วาดรูประบายสี ทำท่าทางประกอบการเล่า ปิดไฟส่องเพดานเล่าประกอบกับเงา

5. พาเด็กไปร้านหนังสือ และให้โอกาสในการเลือกซื้อหนังสือด้วยตัวเอง หากมีงานเทศกาลเกี่ยวกับหนังสือก็พาเด็กไปร่วมเพื่อให้เห็นบรรยากาศของการอ่าน

แนะนำหนังสือที่น่าอ่านและการนำไปใช้ประโยชน์

“เด็กที่ครูไม่ต้องการ”


ผู้แต่ง : นิมิต ภูมิถาวร (นามสกุลเดิม ภักดี)

เป็นหนังสือที่ชนะประกวดเรื่องสั้น พ.ศ. 2512 และเป็นเรื่องสั้น 1 ใน 20 เรื่องที่กรมวิชาการ
กระทรวงศึกษาธิการ คัดเลือกให้เป็นหนังสืออ่านภาษาไทยนอกเวลาสำหรับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย

วัตถุประสงค์ของผู้แต่ง : ต้องการนำเสนอเรื่องความรัก ความเข้าใจเด็ก และแก้ไข เอาใจใส่เมื่อเด็ก
มีปัญหา ความมีเมตตากรุณาของครูบาอาจารย์ที่มีต่อศิษย์

     
 
“จิตวิทยาการศึกษา”

ผู้แต่ง : สุรางค์ โค้วตระกูล

สำนักพิมพ์ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553

ราคา 290 บาท จำนวน 594 หน้า

                  เป็นหนังสือที่ช่วยครูให้รู้จักลักษณะนิสัยของนักเรียนที่ครูต้องสอนครูมีความเข้าใจพัฒนาการทางบุคลิกภาพบางประการของนักเรียน ครูมีความเข้าใจในความแตกต่างระหว่างบุคคล
ครูรู้วิธีจัดสภาพแวดล้อมของห้องเหมาะสมแก่วัย รู้ทฤษฎีในการจัดการเรียนรู้เพื่อให้การจัดกิจกรรม
การเรียนรู้มีประสิทธิภาพบรรลุตามเป้าหมายที่ตั้งไว้  



“ศาสตร์การสอน”


ผู้แต่ง : ทิศนา แขมมณี

สำนักพิมพ์ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553

ราคา 300 บาท จำนวน 512 หน้า

          เป็นหนังสือที่รวบรวบองค์ความรู้ หลักการ รูปแบบ เทคนิควิธีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพบรรลุ
ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ 



“คำพ่อสอน”


เป็นหนังสือที่ให้คนไทยได้น้อมนำพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มาเป็นแนวทาง

ในการดำเนินชีวิตเสมือนดั่งประทีปนำทาง เพื่อให้คนไทยดำเนินชีวิตอย่างมีความสุขในสังคม
ที่พอเพียง

 
“อัจฉริยะสร้างสุข”


ผู้แต่ง : หนูดี วนิษา เรช

สำนักพิมพ์ : บริษัทอัจฉริยะสร้างได้, 2552.

ราคา 196 บาท จำนวน 205 หน้า

หนังสือเล่มนี้เป็นการนำเสนอเกี่ยวกับการดูแลสมองให้ฉลาดและมีความสุข สามารถนำไปเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตได้

รักการอ่านสร้าง “ชีวิต” ให้มีค่า


รักการอ่านสร้าง “เวลา” ให้สุขสันต์

รักการอ่านสร้าง “ครอบครัว” ให้รักกัน

รักการอ่านสร้าง “ความฝัน” ให้เป็นจริง


 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น