เป็นผู้รู้ประสิทธิ์วิทยา เป็นศาสตราคุ้มครองผองเด็กไทย
เป็นแม่พิมพ์กำหนดบทบาทศิษย์ เป็นผู้ชี้แนวชีวิตที่ฝันใฝ่
เป็นผู้นำพาชาติปราศพิษภัย ค่ายิ่งใหญ่เกินกล่าวขานคือ งานครู
ด้านครูผู้นำการเปลี่ยนแปลง ได้ปฏิบัตดังนี้
1. จัดกิจกรรมการเรียนรู้อย่างหลากหลายตามแนวทางการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่ 21 ให้ผู้เรียนบรรลุ
เป้าหมายตามมาตรฐานอย่างมีประสิทธิภาพ และมีคุณลักษณะ ดังนี้
รักการอ่าน ใฝ่เรียนรู้ตลอดชีวิต มีความสามารถในการสื่อสาร สามารถคิดวิเคราะห์ปัญหา แก้ปัญหา และมีความคิดสร้างสรรค์ เป็นผู้มีเหตุผล มีจิตสาธารณะ มีคุณธรรมจริยธรรม ภูมิใจในความเป็นไทย ดำรงชีวิตอย่างพอเพียง อยู่ในสังคมได้อย่างปลอดภัย และมีความสุข
2. ทำตัวเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ลูกศิษย์ ศรัทธาต่ออาชีพ ดำรงชีวิตอย่างพอเพียง ยึดมั่นในระบบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และภูมิใจในความเป็นไทย
3. เข้ารับการอบรมสัมมนา เพื่อพัฒนาตนเอง พัฒนางาน และปรับเปลี่ยนวิธีการสอนให้เหมาะสมอยู่ตลอดเวลาตาม แนวทางการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่ 21
ด้านการออกแบบการเรียนรู้อิงมาตรฐาน
1. กำหนดเป้าหมายการเรียนรู้ (วิเคราะห์หลักสูตรแกนกลาง พ.ศ.2551 หลักสูตรสถานศึกษา )
เพื่อจัดทำคำอธิบายรายวิชา หน่วยการเรียนรู้ และแผนการจัดการเรียนรู้
2. กำหนดหลักฐาน/ ร่องรอยการเรียนรู้ที่เป็นผลการเรียนรู้ของผู้เรียน
(ชิ้นงาน ภาระงาน การวัดประเมินผล (rubric)
3. การออกแบบการจัดกิจกรรมเรียนรู้ โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญวัดและประเมินผลอย่างหลากหลาย
ตามสภาพจริง
ด้านการออกแบบและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ ICT
1. ได้ออกแบบการเรียนรู้และจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้สื่อและแหล่งเรียนรู้อย่างหลากหลาย เช่น
หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-Book), CAI, วีดีทัศน์ ใช้แหล่งเรียนรู้จากอินเทอร์เน็ต
2. ส่งเสริมให้ผู้เรียนสืบค้นข้อมูลจากอินเทอร์เน็ตเช่น Google, You tube, Blogker
3. สอนให้นักเรียนใช้ ICT ในชั่วโมงเรียนคอมพิวเตอร์
ด้านระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนเน้นวินัยเชิงบวก
1. จัดทำข้อมูลรายบุคคล วิเคราะห์ข้อมูลรายบุคคล
2. คัดกรองนักเรียนจัดทำข้อมูลนักเรียนแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยง กลุ่มมีปัญหา
3. จัดกิจกรรมต่างๆ ให้กับผู้เรียนเพื่อป้องกัน ส่งเสริม และพัฒนาแก่นักเรียนมีคุณภาพมากขึ้น เช่น
กิจกรรม เยี่ยมบ้าน ประชุมผู้ปกครอง สอนซ่อมเสริม กิจรรมลูกเสือ/เนตรนารี แนะแนว ชุมนุม
กิจกรรมจิตสาธารณะประโยชน์ สร้างความภาคภูมิใจในตนเองด้านต่างๆ เช่น กิจกรรมวันสำคัญ
4. สรุปผลและรายงานผล
วินัยเชิงบวก
1. จัดกิจกรรมตามความแตกต่างระหว่างบุคคล ตามความถนัดและความสนใจ ให้ความรัก ความเข้าใจเด็ก
โดยไม่ลำเอียง
2. เปิดโอกาสให้เด็กมีอิสระการคิดและการร่วมกิจกรรมต่างๆ
3. กล่าวยกย่องชมเชยเด็ก และไม่ลงโทษเด็ก ไม่ตำหนิเมื่อเด็กทำผิด
4. จัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยให้สิ่งเร้า เช่น ให้เด็กสะสมดาวแห่งความดีและความเก่ง เมื่อครบ 1 เดือน
ใครสะสมได้มากที่สุดก็จะให้รางวัล
5. ชื่นชมผลงานนักเรียน และมอบรางวัลเด็กที่ทำกิจกรรมต่างๆ ในวันสำคัญ เช่น ประกวดแข่งขันทักษะ
เด็กดีศรีทุ่งเย็น นักเรียนรักการอ่าน
ด้านวิจัยในชั้นเรียน
ได้จัดทำวิจัยอย่างเป็นระบบตาม CAR1– CAR 4